top of page
ค้นหา

CEO Starfish Education ร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ didacta asia 2024: Ministerial Panel on "Southeast Asia Education Policies"

ในวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Starfish Education ร่วมพิธีเปิดงาน didacta asia 2024 และ didacta asia congress นิทรรศการสื่อการศึกษาและการประชุมนานาชาติ ซึงเป็นงานแสดงนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ โดยรวบรวมเทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้ และแนวคิดใหม่ๆ ในวงการศึกษา มาจัดแสดงและให้ผู้สนใจได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ฮอลล์ 101

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Starfish Education ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการช่วง Ministerial Panel On "Southeast Asia Education Policies" และได้รับเกียรติจาก Datuk Dr.Hannah Abdul Rahim SEAMEO Secretariat Director, H.E. Mr Nos Sies Secretary of State of the Ministry of Education, Youth and Sport Cambodia, และ Assoc. Prof. Dr. Rattachat Mongkolnavin Chairperson of The committee on Promoting and Enhancing Higher Education toward Quality and International Standards ร่วมแลกเปลี่ยนนโยบายการศึกษาใหม่ๆหรือตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำไปจัดการแก้ปัญหาจากแต่ละประเทศ รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน โดยแต่ละประเทศได้นำเสนอว่ามีนโยบายอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ทักษะในอนาคตเข้าสู่ระบบการสอนเพื่อสร้างการศึกษาที่มีศักยภาพและความเท่าเทียมในด้านการศึกษา


Datuk Dr.Hannah Abdul Rahim SEAMEO Secretariat Director กล่าวว่า “จากการรายงานและสถิติที่พบล่าสุดในภูมิภาคในปี 2023 มีการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทุกประเทศในพื้นที่มีนโยบายที่จะใช้เทคโนโลยีในระดับโรงเรียน เช่น ระบบการจัดการเรียนรู้ในไทย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ส่วนใหญ่ที่เรียนในโรงเรียนมากกว่า 80% มีส่วนเกี่ยวข้องกับช่องทางออนไลน์ ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่า เทคโนโลยียังไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในพื้นที่นี้ยังพบช่องว่าง และความแตกต่างในการศึกษาอยู่ และยังไม่ทั่วถึง นักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และนักเรียนที่อยู่ในฐานะยากจนยังมีความแตกต่างกันมาก ครูก็เป็นเช่นเดียวกัน ความแตกต่างเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีรูปแบบของการเรียนรู้ ครูเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ นี่คือความท้าทายในประเด็นนี้ ครูต้องพัฒนาตนเองให้สามารถจัดการเรียนรู้ให้ได้ตามต้องการ ในขณะที่แต่ละประเทศพยายามให้การสนับสนุน เช่นการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ ในกัมพูชา อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย”  


H.E. Mr Nos Sies Secretary of State of the Ministry of Education, Youth and Sport Cambodia กล่าวถึงระบบการศึกษาในประเทศกัมพูชาว่า “วิชาเทคโนโลยีและหลักสูตรได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาในกัมพูชา ตั้งแต่นักเรียนในระดับประถม และให้เรียนสม่ำเสมอในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาขึ้นให้ทันสมัย ตามเนื้อหาที่นักเรียนควรจะต้องได้เรียนรู้ เช่น ข้อมูล ระบบเครือข่าย การคิดเชิงคำนวณ การเรียนโค้ดดิ้ง การใช้งานมัลติมีเดีย และการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้เทคโนโลยี ครูได้รับการเตรียมสำหรับการสอน และพัฒนานักเรียนให้พร้อมในการใช้เทคโนโลยีสำหรับครูโดยทั่วไป และครูที่ต้องให้น้ำหนักเกี่ยวกับเทคโนโลยี เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความเข้าใจและฉลาดรู้ทางเทคโนโลยีตามเป้าหมาย สร้างให้เราเป็นประชากรดิจิทัลได้” 


สำหรับประเทศไทย Assoc. Prof. Dr. Rattachat Mongkolnavin Chairperson of The committee on Promoting and Enhancing Higher Education toward Quality and International Standards กล่าวว่า “ในช่วงโควิดเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระบบการศึกษาไทย การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดน่าจะเกี่ยวกับโครงการสร้างการศึกษา คือ การบริหารของรัฐมนตรีการศึกษา ที่เน้นให้การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกที่ และผู้เรียนมีความสุข เรามีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และแต่ละแห่งสนับสนุนตามความเชี่ยวชาญ เช่น การวิจัย เทคโนโลยี เพื่อให้มีองค์ความรู้และการนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงความต้องการ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาด้วย การพัฒนาจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละองค์กรมหาวิทยาลัยเป็นจุดแข็งที่จะนำมาช่วยในการพัฒนาของประเทศได้”   


จะเห็นได้ว่าทุกฝ่าย ตระหนักถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาปัจจุบัน ซึ่งนอกจากความเกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นฐานของเทคโนโลยี เรื่องของคุณภาพเนื้อหา ทุกคนยังต้องเอาชนะความท้าทายในสิ่งที่เกิดขึ้น คือเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดโครงสร้างให้น้อยลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบในระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI ที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ดีที่แต่ละประเทศต้องให้ความสำคัญวางนโยบายเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน 


รายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/didactaasia.education 


ดู 4 ครั้ง

Comments


bottom of page